ข้อมูลของบทความนี้จะเกี่ยวกับอธิกรณ์ แปลว่า หากคุณกำลังมองหาอธิกรณ์ แปลว่ามาถอดรหัสหัวข้ออธิกรณ์ แปลว่ากับpartnershipvt.orgในโพสต์ศีลพระมีอะไรบ้าง? (๑๘) อธิกรณ์สมถะ (วิธีระงับอธิกรณ์) ๗ โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโทนี้.
Table of Contents
ภาพรวมที่สมบูรณ์ที่สุดของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับอธิกรณ์ แปลว่าในศีลพระมีอะไรบ้าง? (๑๘) อธิกรณ์สมถะ (วิธีระงับอธิกรณ์) ๗ โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
ที่เว็บไซต์partnershipvt.orgคุณสามารถอัปเดตข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากอธิกรณ์ แปลว่าได้รับความรู้ที่มีคุณค่ามากขึ้นสำหรับคุณ ที่เว็บไซต์Partnership VT เราอัปเดตข้อมูลใหม่ๆ ที่ถูกต้องให้คุณอย่างต่อเนื่องทุกวัน, ด้วยความปรารถนาที่จะให้เนื้อหาที่ถูกต้องที่สุดสำหรับคุณ ช่วยให้ผู้ใช้บันทึกข้อมูลออนไลน์ได้อย่างละเอียดที่สุด.
เนื้อหาบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับหัวข้ออธิกรณ์ แปลว่า
#ศีลมีอะไรบ้าง? ตอนที่ 18 (จบ) #อธิกรณ์สมถะ 7 #อธิกรณ์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่พระหรือสงฆ์ต้องปฏิบัติ (ระงับ) ส่วนอธิกรณ์สมถะเป็น #อธิกรณ์ระงับ อธิกรณ์มี 4 แบบ 1. #วราดาธิกรณ์ทะเลาะวิวาท เกี่ยวกับธรรมะและพระวินัยด้วยวัตถุ 18 ประการ 1-2 ธรรมะนี้ไม่ใช่ธรรมะ 3-4 นี่คือวินัย ไม่ใช่วินัย 5-6 นี่คือสิ่งที่พระตถาคตตรัสไว้ นี้ไม่ได้พูดโดยตถาคต, ไม่ได้พูด. นี้เป็นกิริยาที่ตถาคตมิได้ปฏิบัติ ๙-๑๐ นี้เป็นบัญญัติของตถาคต. 11-12 นี่เป็นอาชญากรรม 13-14 นี่เป็นความผิดเล็กน้อย นี่คือ 15-16 นี่เป็นความผิดที่เหลือ นี่เป็นความผิดที่ไม่มีการพักผ่อน 17-18 นี่เป็นความผิดร้ายแรง นี่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง 2. #อนุวทธิกร เรื่องกล่าวหา / กล่าวหา / ดำเนินคดีอาญา 4 เรื่อง ได้แก่ ศิลวิภัย วิบัติ ดิษฐิวิภัย และอาชีวะ 3. #อปท. เรื่อง บทลงโทษและการแก้ไขจากความผิด 4. #กิจจริงที่พระภิกษุต้องทำ มี ๔ ประการ คือ หลุดพ้น เคลื่อนที่ เคลื่อนที่รอง และเรื่อง เช่น สวดมนต์ปาติโมกข์ อุปสมบท *วิธีระงับอธิกรณ์ ๑. การทะเลาะวิวาทระงับวินัยและเยภิยสิกา ๒. อนุวตถิกรณ์ ระงับวินัย สติ-วินัย อมูลวินัย และตสปิยะสิก ปฏิญญาตกะระณะและติณวัฏฏะก ๔ พระราชบัญญัติซึ่งระงับไว้ด้วยวินัยอย่างเดียว อธิกรณ์สมถะทั้ง ๗ ถือเป็นกระบวนการทางตุลาการ กระบวนการแก้ปัญหาและกระบวนการธุรการซึ่งเป็นข้าราชการของคณะสงฆ์ตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน ดู ศีลของภิกษุมีอะไรบ้าง? ครบทุกตอนได้ที่ อ่านบทความวินิจฉัยพระวินัยตามพระไตรปิฎกและอรรถกถา ฯลฯ ได้ที่เพจ นานา วินิจชัย
ภาพถ่ายบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับหมวดหมู่เกี่ยวกับอธิกรณ์ แปลว่า

นอกจากการดูเนื้อหาของบทความนี้แล้ว ศีลพระมีอะไรบ้าง? (๑๘) อธิกรณ์สมถะ (วิธีระงับอธิกรณ์) ๗ โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท สามารถดูและอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่าง
คำหลักที่เกี่ยวข้องกับอธิกรณ์ แปลว่า
#ศลพระมอะไรบาง #๑๘ #อธกรณสมถะ #วธระงบอธกรณ #๗ #โดยพระมหาภาคภม #สลานนโท.
ตอบปัญหา,วินิจฉัย,พระวินัย,วินัยพระ,อาบัติ,พระ,ภิกษุ,ศีลพระ,สิกขาบทพระ,ศีล ๒๒๗,พระวินัยปิฎก,พุทธวจน,ปาฏิโมกข์,อธิกรณ์,สมถะ,อธิกรณ์สมถะ,อธิกรณสมถะ,ระงับอธิกรณ์,วิวาท,คึกฤทธิ์,ลัทธิ,สังฆกรรม,ศาลสงฆ์,อุกเขปนียกรรม,พุทธอิสระ,หลวงปู่เณรคำ,ธรรมวินัย,วิวาทาธิกรณ์,อนุวาทาธิกรณ์,อาปัตตาธิกรณ์,กิจจาธิกรณ์,สัมมุขาวินัย.
ศีลพระมีอะไรบ้าง? (๑๘) อธิกรณ์สมถะ (วิธีระงับอธิกรณ์) ๗ โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท.
อธิกรณ์ แปลว่า.
หวังว่าเนื้อหาบางส่วนที่เราให้ไว้จะเป็นประโยชน์กับคุณ ขอขอบคุณที่อ่านอธิกรณ์ แปลว่าข่าวของเรา
#อธิกรณสมถะ มี ๗ วิธี
๑. #สัมมุขาวินัย
ระงับในที่พร้อมหน้าสงฆ์ พร้อมหน้าบุคคล พร้อมหน้าวัตถุ และพร้อมหน้าธรรม
– คำว่า พร้อมหน้าสงฆ์ คือ ภิกษุเข้าประชุมครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี
– คำว่า พร้อมหน้าบุคคล คือ คู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมกัน
– คำว่า พร้อมหน้าวัตถุ คือ ยกเรื่องที่เกิดนั้นขึ้นมาวินิจฉัย
– คำว่า พร้อมหน้าธรรม คือ วินิจฉัยถูกต้องตามธรรมตามวินัย
๒. #สติวินัย ระงับโดยประกาศสมมุติให้ว่าเป็นพระอรหันต์ผู้มีสติสมบูรณ์
คือวิธีระงับอธิกรณ์โดยเอาสติขึ้นเป็นหลักในกรณีที่มีผู้โจทพระอรหันต์ด้วยศีลวิบัติ
– สงฆ์จะสวดประกาศสมมุติให้แก่ผู้เป็นพระอรหันต์นั้นว่า “ท่านผู้นี้มีสติสมบูรณ์ เป็นการบอกให้รู้ว่าใครจะโจทพระอรหันต์ด้วยอาบัติไม่ได้”
๓. #อมูฬหวินัย ระงับโดยยกประโยชน์ให้ว่าต้องอาบัติในขณะเป็นบ้า
คือวิธีระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์แก่ภิกษุที่หายเป็นบ้าแล้ว ในกรณีที่มีผู้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติที่ต้องในขณะเป็นบ้า สงฆ์จะสวดประกาศ
สมมุติเพื่อไม่ให้ใครๆ โจทเธอด้วยอาบัติ
๔. #ปฏิญญาตกรณะ ระงับตามคำรับของจำเลย
คือวิธีการระงับอธิกรณ์โดยปรับอาบัติตามคำรับสารภาพของจำเลย (การแสดงอาบัติก็ถือว่าเป็นปฏิญญาตกรณะเช่นเดียวกัน)
๕. #เยภุยยสิกา ระงับตามเสียงข้างมาก
คือวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินตามเสียงข้างมาก สงฆ์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่ภิกษุหลายฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน
๖. #ตัสสปาปิยสิกา ระงับโดยการลงโทษแก่ผู้ทำผิด
คือวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินลงโทษแก่ผู้กระทำผิด เมื่อสงฆ์พิจารณาตามหลักฐานพยานแล้วเห็นว่ามีความผิดจริง แม้เธอจะไม่รับสารภาพ
๗. #ติณวัตถารกะ ระงับโดยการประนีประนอม
คือวิธีระงับอธิกรณ์โดยการที่ทั้งสองฝ่ายประนีประนอมกัน เปรียบเหมือนเอาหญ้ากลบไว้ไม่ต้องชำระสะสางคดีความ วิธีนี้ใช้ระงับอาปัตตา-
ธิกรณ์
(ดูรายละเอียดใน วิ. จูฬ. ๖/๑๘๕-๒๑๔/๒๖๙-๓๓๘ (สมถขันธกะ), วิ.ป. ๘/๒๗๕/๒๒๖-๗,
วิ.อฏฺ. ๓/๒๙๒-๒๙๕, กงฺขา. ๓๓๖-๙, กงฺขา.นวฏี. ๔๗๐)
อาจารย์ครับพระเล็กโดนคดีอธิกรณ์ยังจะรับยศเจ้าคณะจังหวัดได้หรือครับ
สาธุ
อธิบาย การปฏิบัติ การตีความ อธิกรณ์ในพระวินัยหน่อยครับ
กรณีภิกษุมีความขัดแย้งกันเรื่องอัคติต่อกัน เเบ่งข้างกันเป็น๒พวก ฝ่ายละ๕ รูป กรณีนี้ ถือเป็นอธิกรณ์หรือสงแตกแยกครับ?
ถ้ามีการทะเลาะกันด้วยเรื่องอื่นเช่นภิกษุผู้หนึ่ง โจทย์ภิกษุอื่นว่าเป็นผู้ปรพฤติไม่ดีชอบใช้งานภิกษุอื่น มีความอคติ
แบบนี้จะอยูในในอธิกรณ์ด้วยไหมครับ?
ฆราวาส โจทอาบัติภิกษุ จะเรียกว่าอธิกรได้มั้ยครับ
#วินิจฉัยเรื่องศาลสงฆ์ (การตัดสินอธิกรณ์ในสงฆ์)
เมื่อเรื่องถูกนำเข้าในท่ามกลางสงฆ์ด้วยการโจทอย่างใดอย่างหนึ่ง สงฆ์ต้องให้ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยยอมรับก่อนว่าจะยอมรับคำตัดสินของสงฆ์ หากพวกเขากล่าวว่า “โปรดวินิจฉัยก่อนขอรับ ถ้าการวินิจฉัยนั้นควร พวกกระผมจักยอมรับ” ก็ไม่พึงวินิจฉัยให้ และถ้าบริษัทมีคนพาลมาก จะไม่วินิจฉัยให้ก็ได้
เมื่อโจทก์ยกเรื่องขึ้นโจท พระวินัยธรพึงถามจำเลยว่า “เรื่องนี้มีจริงหรือไม่” พระวินัยธรพึงพิจารณาเรื่องอย่างนี้ #โจทด้วยเรื่องที่เป็นจริง และ #ให้จำเลยให้การ
ถ้าฝ่ายโจทก์ผู้เป็นลัชชีเป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาด พูดยืนยัน แต่ฝ่ายจำเลยผู้เป็นอลัชชีไม่ยอมรับ กล่าวอยู่แต่ว่า “แม้เรื่องนี้ก็ไม่มี แม้เรื่องนี้ก็ไม่มี” พึงปรับตามปฏิญญาของผู้เป็นอลัชชีนั่นเอง
***ภิกษุอลัชชีถูกภิกษุลัชชีโจทอยู่อย่างนี้ เมื่อยกเรื่องราว[ที่ภิกษุนั้นทำผิด]มาเป็นอันมากก็ยังไม่ยอมให้ปฏิญญา (คือไม่ยอมรับ) ถ้าเป็นเช่นนี้ พระวินัยธรก็ไม่ต้องวินิจฉัยว่า "ภิกษุนี้เป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์" บุคคลนี้ชื่อว่า #ตายทั้งเป็น (ชีวมตโก) และ #เน่าทั้งดิบ (อามกปูติโก) ถ้าเรื่องอย่างอื่นเช่นนั้นเกิดขึ้นแก่เขา พระวินัยธรไม่ต้องวินิจฉัย #เขาจักพินาศไปเองอย่างนั้น
(สรุปความจาก วิ.อฏฺ.๒/๘๗-๙๐ อธิบายทุฏฐโทสสิกขาบท)
คำว่า #พึงปรับตามปฏิญญาของผู้เป็นอลัชชีนั่นเอง หมายความว่า เมื่อความผิดปรากฏชัดเจนตามลำดับคำซักถามและคำตอบแล้วนั่นเอง จึงปรับอาบัติตามคำของภิกษุอลัชชีที่ปฏิญญายอมรับผิดว่า “ผมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์” เท่านั้น (วิมติ.๑/๓๗๐) (แต่ถ้าภิกษุอลัชชีทำผิดจริง แต่ไม่ยอมรับ พระวินัยธรก็ไม่พึงวินิจฉัยเลย)
ด้วยคำว่า #เขาจักพินาศไปเองอย่างนั้น นี้ ท่านแสดงว่า ธรรมดาว่าการไม่ให้วินิจฉัยแล้วแยกเขาออกจากสงฆ์ #จัดเป็นประเภทของนาสนาอีกข้อหนึ่งได้ทีเดียว คล้ายกับลิงคนาสนา (การให้สึก) (วิมติ. ๑/๓๗๑)
สรุปว่า การไต่สวนโดยพระวินัยธรในท่ามกลางสงฆ์เมื่อมีการโจทกันขึ้น ถึงฝ่ายจำเลยจะผิดจริง แต่หากเขาไม่ยอมรับ การจัดการตามพระธรรมวินัยก็ทำได้แค่ปล่อยเขาทิ้งที่เรียกว่า ปล่อยให้ตายทั้งเป็นและเน่าทั้งดิบ เพราะการวินิจฉัยอธิกรณ์ในสงฆ์ต้องทำตามปฏิญญา (คือ ต้องให้มีการยอมรับ) เท่านั้น
(รายละเอียดในเรื่องการโจทและการตัดสินอธิกรณ์ในสงฆ์ยังมีอยู่มาก ที่กล่าวนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากอรรถกถาของทุฏฐโทสสิกขาบทและอรรถกถาคัมภีร์ปริวาร)
ดูวีดิโอสอนเรื่องนี้ได้ที่ https://youtu.be/8QRvfxw6cmA
จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม
ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน
พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
#นิคคหกรรมวินิจฉัย
#การลงโทษแก่ภิกษุที่ทำผิดตามวิธีของสงฆ์เป็นอย่างไร?
การลงโทษแก่ภิกษุโดยใช้วิธีของสงฆ์ เรียกว่า นิคคหกรรม (การทำการลงโทษ)
#นิคคหกรรม มี ๗ อย่างคือ
๑. #ตัชชนียกรรม คือกรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้จะพึงขู่
เป็นนิคคหกรรมซึ่งสงฆ์ลงแก่ภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระปัณฑุกะและโลหิตกะ
๒. #นิยสกรรม คือ กรรมอันสงฆ์พึงทำให้เป็นผู้ไร้ยศ
ได้แก่ การถอดยศโดยให้กลับไปถือนิสสัยใหม่
เป็นนิคคหกรรมซึ่งสงฆ์ลงแก่ภิกษุผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ผู้มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ชอบอยู่คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีที่ไม่สมควร
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระเสยยสกะ
๓. #ปัพพาชนียกรรม คือ กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้จะพึงถูกไล่ ได้แก่การขับออกจากหมู่ การไล่ออกจากวัด
เป็นนิคคหกรรมซึ่งสงฆ์ลงแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูลคือประจบคฤหัสถ์ และประพฤติเลวทรามจนเป็นข่าวเซ็งแซ่ ปรากฏ เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระอัสสชิและปุนัพพสุกะ
๔. #ปฏิสารนียกรรม คือ กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้จะพึงถูกสั่งให้กลับไปขอขมาคฤหัสถ์
หมายถึงถ้ามีภิกษุบางรูปด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธา เป็นทายก เป็นผู้ทำงานอุปถัมภ์สงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ สงฆ์พึงลงโทษภิกษุนั้นโดยให้สำนึกผิดแล้ว ให้กลับไปขอขมาคฤหัสถ์ที่ภิกษุนั้นด่าว่านั้น
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระสุธรรม
#อุกเขปนียกรรม คือกรรมอันสงฆ์พึงลงแก่ภิกษุผู้จะพึงยกเสีย
เป็นนิคคหกรรมซึ่งสงฆ์ลงแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้วไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติเป็นต้น แบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ
๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระฉันนะ
๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระฉันนะ
๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิอันเลวทราม
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระอริฏฐะ
***ผู้ที่ถูกลงอุกเขปนียกรรม จะจัดเป็น #ภิกษุนานาสังวาสก์ ไม่มีสิทธิ์ร่วมสังฆกรรมกับภิกษุปรกติ
***ก็กรรม ๗ อย่างหล่านี้ #จะลงได้ก็ต่อเมื่อมีภิกษุผู้กระทำผิดร่วมอยู่ในสังฆกรรมด้วย (คือต้องระงับด้วยสัมมุขาวินัย) ดังนั้น ภิกษุผู้ลงกรรมลับหลัง จึงต้องอาบัติทุกกฏ
(ดูรายละเอียดได้ใน วิ.จูฬ. ๖/๑-๗๔/๑-๑๑๖, วิ.อฏฺ. ๓/๒๕๑-๕)
***การลงโทษภิกษุที่ทำผิดอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ได้ทำโดยสงฆ์ แต่ทำโดยอุปัชฌาย์ของภิกษุรูปนั้นๆ เรียกว่า #ทัณฑกรรม ได้แก่ การใช้ให้ตักน้ำ ผ่าฟืน เป็นต้น
พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา.
ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน
ขอชนทั้งหลายจงเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
เกี่ยวกับวิธีการระงับกิจจาธิกรณ์ สามารถฟังรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้ https://bit.ly/2BborGw